ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของ...นางสาวอนุษรา แก้วทำในรายวิชา นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการศึกษา ผู้เข้าชมเว็บบล็อกสามารถดูรายละเลียดและเพิ่มเติมเนื้อหา ของตัวเองเพื่อการศึกษาได้

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555


หน่วยการเรียนรู้ที่
หลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ
       
        นวัตกรรมคือ การเปลี่ยนแปลงหรือดัดแปลงสิ่งใหม่ๆ ที่เข้ามา อาจเป็นแนวความคิดหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่มาจากของเดิมที่มีอยู่ นำมาใช้ในรูปแบบใหม่ที่ทำให้เกิดคุณค่า และมูลค่ามาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม จนทำให้เกิดความ
สะดวกสบายในการดำรงชีวิต ซึ่งในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในสังคมอยู่ตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นที่คนเราต้องคิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆขึ้นมาเพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ
        เทคโนโลยีคือ สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้นมาเพื่อนำมาการประยุกต์ เอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ เป็นต้น แก่มวลมนุษย์ทั้งในแง่ความเป็นอยู่ และการควบคุมสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองเป้าหมายเฉพาะความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่างๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ
       สารสนเทศคือ        ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้  โดยมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม หรือข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงและจัดกระทำเพื่อผลของการเพิ่มความรู้ ความเข้าใจของผู้ใช้จะเป็นการรวบรวมข้อมูลหลายๆอย่างที่เกี่ยวข้องกันเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
      นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศคือ หลักการจูงใจ  สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สำคัญในกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะเป็นสิ่งที่สามารถผลักดัน ส่งเสริมและเพิ่มพูนกระบวนการจูงใจที่มีอิทธิพลต่อพลังความสนใจ   ความต้องการ ความปรารถนา และความคาดหวังของผู้เรียนที่จะศึกษา   มีวัสดุการเรียนการสอนจะช่วยส่งเสริมความ คิด ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละคน  ดังนั้นการเลือก การผลิตและการใช้วัสดุการเรียนการสอน ควรจะต้องสัมพันธ์กับความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน
        ความสำคัญของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ
         ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
       นวัตกรรมและเทคโนโลยีมีขอบข่ายครอบคลุม 7 ด้าน ได้แก่
1.นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการจัดและออกแบบระบบ
2.นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านวิธีการทางการศึกษา
3.นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้นพฤติกรรมการศึกษา
4.นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านสารสนเทศและสื่อการศึกษา
5.นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการจัดการศึกษา
6. นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการจัดสภาพแวดล้อมทางการศึกษา
7.นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการประเมินทางการศึกษา นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา เป็นปัจจัยสำคัญอย่ายิ่งที่จะทำให้เกิดการพัฒนาก้าวหน้าไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เพราะนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ส่วนเทคโนโลยีเป็นการนำเอาสิ่งต่างๆ รวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงานหรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด สถานศึกษาจึงควรส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิต การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งมีการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลเพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่า เหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
    ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
    การนำเทคโนโลยีสารนิเทศมาใช้กับสังคมสารนิเทศในปัจจุบันก่อให้เกิดการสื่อสารและการใช้ประโยชน์ จากสารนิเทศได้อย่างเต็มที่  และมีประสิทธิภาพ  ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารนิเทศมีดังต่อไปนี้ คือ
1. ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็ว โดยใช้โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์หรือในรูปของ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
2. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ซึ่งผลิตออกมาในแต่ละวัน
3. ช่วยให้เก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างสะดวก
4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารนิเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร ด้วยการช่วยคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ
5. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารนิเทศ
6. สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
7. อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารนิเทศดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ผู้ใช้สารนิเทศมี ทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า
8. ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ
       ความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยี
       นวัตกรรมเป็นการวิจัยหาวัสดุ  อุปกรณ์  และวิธีการใหม่ๆ  หรือปรับปรุงของเก่าให้ได้สิ่งที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมซึ่งเกิดจากแนวคิดและความรู้ใหม่ๆที่เกิดจากการคิดสร้างสรรค์  ส่วนเทคโนโลยีเกิดจากการนำนวัตกรรมมาพิสูจน์ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์  ผลผลิตจากการพิสูจน์ได้ถูกนำมาใช้อย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาต่างๆให้เกิดประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศในปัจจุบัน ประกอบด้วย
- ระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing System)
- ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System)
- ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)
- ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System)
- ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)

        ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
        การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างแพร่หลายในปัจจุบันส่งผลให้เกิดผลกระทบที่ดีและที่ไม่ดีต่อการดำเนินชีวิตของผู้ใช้และบุคคลรอบข้างทั้งด้านคุณภาพชีวิต ด้านสังคม และด้านการเรียนการสอน
       1.ผลกระทบด้านบวกของเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน นำมาควบคุมอุปกรณ์ต่างๆภายในบ้าน ตัวอย่างเช่น การดูโทรทัศน์แบบสั่งได้ ตู้เย็นสามารถตรวจเช็คได้ว่า ขณะนี้มีของอะไรอยู่ในตู้เย็นบ้าง การใช้กล้องวงจรปิด การใช้ GPS นำทาง เป็นต้น
        2.ผลกระทบในทางลบของเทคโนโลยีสารสนเทศ มีดังนี้
2.1ทำให้เกิดอาชญากรรม เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหนทางในการก่ออาชญากรรมได้ โจรผู้ร้ายอาจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวางแผนปล้น วางแผนโจรกรรม มีการลักลอบใช้ข้อมูลข่าวสาร มีการโจรกรรมหรือแก้ไขตัวเลขบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์
2.2ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเห็นตัว การใช้งานคอมพิวเตอร์หรือแม้แต่การเล่นเกมมีลักษณะการใช้งานเพียงคนเดียว ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลง ผลกระทบนี้ทำให้มีความเชื่อว่า มนุษย์สัมพันธ์ของบุคคลจะน้อยลง สังคมใหม่จะเป็นสังคมที่ไม่ต้องพึ่งพากันมาก
2.3ทำให้มีการพัฒนาอาวุธที่มีอำนาจทำลายสูง ประเทศที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี สามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยในการสร้างอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายสูง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดสงครามและมีการสูญเสียมากขึ้น
      องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้หากพิจารณาได้ใน 2 ลักษณะ คือ
1.องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ พิจารณาเชิงเทคโนโลยี จะประกอบด้วยเทคโนโลยี 2 สาขาหลัก คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
-เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกัน
-เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อ สื่อสาร รับ-ส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์
2.องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ พิจารณาเชิงระบบจะพบว่าระบบสารสนเทศจะประกอบด้วยองค์ประกอบต่างที่จะนำพาให้ระบบสารสนเทศทำงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ มี 5 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคคลากร ระเบียบปฏิบัติการ โดยมีรายละเอียดดังนี้
-ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึงเครื่อง (ระบบ) คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ
-ซอฟต์แวร์ (Software) หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ นับได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงาน การกำหนดคำสั่งให้ชิ้นส่วน อุปกรณ์หรือฮาร์ดแวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการ
-ข้อมูล (DATA) คือข้อมูลต่าง ๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลคำนวณ หรือกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้กลายเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ปัจจุบันเราถือกันว่าข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์
-บุคลากร (People) ก็คือ กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด มีตั้งแต่ระดับผู้ใช้งานทั่วไป ผู้บริหารองค์กร หน่วยงาน ผู้พัฒนาและวิเคราะห์ระบบ ผู้ควบคุมระบบ และนักเขียนโปรแกรม ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ
-ระเบียบปฏิบัติการหรือขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Procedure) เป็นระเบียบวิธีการเข้าถึงข้อมูลของเครื่อง ข้อมูลส่วนรวม การใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติงานในแต่ละโปรแกรม) การใช้งาน (ข้อมูล) เครือข่าย การดูแลรักษา การปฎิบัติตามกฎหมายว่าด้วย พรบ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องมีความรู้ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อพัฒนาการความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา  
1. การ ขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
1.1 คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
1.3 เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
1.4 สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
     2. การ เน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด แบบเรียนโปรแกรมซึ่ง ทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
     3. การ ใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ๆ ของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
     4. พัฒนา เครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก
บทสรุป  นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษาในโลกของอนาคตนั้นจะมีรูปแบบห้องเรียนเสมียน คือ ห้องเรียนไร้กำแพง อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จำเป็นจะต้องใช้วัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศหลายอย่างบูรณา
จากการที่ได้เรียนรู้นวัตกรรมทางการศึกษา ทั้งที่ยังคงมีใช้อยู่ บางอย่างเริ่มสูญหายไป และบางอย่างก็กำลังเกิดขึ้นมา ตามพัฒนาการของเทคโนโลยีในทุกๆแขนง นวัตกรรมทางการศึกษาในแต่ละประเภท ต่างมีจุดเด่น และข้อจำกัดอันเป็นผลจากเทคโนโลยี แต่สิ่งที่อยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีอันทันสมัยก็ไม่ใช่กระบวนการจัดการศึกษา ที่ดีที่สุดของการจัดการศึกษายังคงต้องพึ่งพานวัตกรรมในเชิงผสมผสาน ปรับไปตามกลุ่มเป้าหมาย เปลี่ยนแปลงไปตามจุดประสงค์ของการศึกษา
บางครั้งอาจจะมีความสับสนในการใช้ความหมายระหว่างคำว่า นวัตกรรม และ ประดิษฐ์กรรม ตัวอย่างเช่น หากท่านเป็นนักวิจัยและพัฒนาที่ทำงานอยู่ในห้องปฏิบัติการที่มีความเชี่ยวชาญ มีความสามารถในการประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ได้เป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถนำความคิดเหล่านั้นไปใช้หรือประยุกต์ใช้ในโลกของความเป็นจริงได้  อนาคตกับการทำงานและการใช้ข้อมูลข่าวสาร รูปแบบของการทำงานในอนาคตนั้นจะเน้นการทำงานบนพื้นฐานของการใช้ข้อมูล สารสนเทศและความรู้ในการตัดสินใจในการทำงานและดำรงชีวิตประจำวัน ดังนั้นจะต้องมีการเตรียมความพร้อมของตนเองเพื่อก้าวเข้าสู่อนาคตในโลกของการทำงานบนพื้นฐานของความเป็นจริง หากเรามองภาพในอนาคตจะพบว่า โลกของอนาคตนั้นจะเป็นการรวมตัวของการสื่อสารทุกชนิดไว้เป็นหนึ่งเดียว เช่น เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตรวมกับเทคโนโลยีของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะมีการเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) สำหรับการติดต่อสื่อสารด้วย Internet Broadband ไว้เกือบทุกๆ ที่ ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย ห้องสมุด สถานที่ทำงาน รถไฟฟ้าใต้ดิน ห้างสรรพสินค้าเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงคลังข้อมูลขององค์กรได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้วัฒนธรรมในการทำงานของคนเปลี่ยนไป